FIGHT NEWS

UFC ขอต่อสู้กับ Ali Act - กฏหมายที่ปกป้องสิทธิประโยชน์นักกีฬา

01.08.2017

UFC ได้จ้างบริษัทกฏหมายใน Wahington DC เพื่อพยายาม lobby ต่อสู้กับการพยายามผลักดัน Ali Act ที่เป็นกฏหมายที่ถูกบังคับใช้ในวงการมวยสากลอาชีพมาแล้วกว่า 16 ปี ไม่ให้ถูกนำมาปรับใช้กับวงการ MMA เพราะทาง UFC มองว่าวงการ MMA นั้นให้ความยุติธรรมกับนักกีฬาในเชิงของรายได้และการจัดอันดับที่ดีอยู่แล้วโดยไม่ต้องให้หน่วยงานภาครัฐมาดูแลก็ได้


โดย Ali Act นั้นมีใจความสำคัญอันน่าสนใจ ที่ต้องการปกป้องสิทธ์ประโยชน์ให้แก่นักกีฬาอาชีพดังต่อไปนี้:


1.) Promoter ไม่สามารถทำสัญญาผูกมัดนักกีฬามากกว่าระยะเวลา 1 ปีได้ เป็นการกันการใช้กลยุทธสัญญาทาส ที่เป็นหนึ่งปัญญาของวงการกีฬาการต่อสู้มานาน


2.) ห้ามไม่ให้ผู้จัดการนักสู้ ทำตัวเป็น Promoter ด้วยในเวลาเดียวกัน

3.) Promoter ต้องเปิดเผยรายได้ทั้งหมดให้นักกีฬารับรู้เพื่อความโปร่งใส


4.) การจัดอันดับ ranking และการตัดสินใจว่าจะให้ใครชิงเข็มขัด ต้องขึ้นอยู่กับองค์กรที่เป็นกลางเป็น 3rd party ไม่ใช่ให้ promoter จัดกันเอง

ที่มาของข่าว: https://www.mmafighting.com/2016/6/11/11910628/ufc-hires-lobbying-firm-to-combat-extension-of-ali-act-to-mma

มุมมองของแอดมิน Fightologist:

ข้อ 1 เป็นเรื่องที่ดีสำหรับนักกีฬาถ้าช่วยลดสัญญาทาสได้ หากแต่ว่าระยะเวลา 1 ปี กับจำนวน fight ที่มีไม่มากอาจจะส่งผลให้ promoter ไม่มองเรื่องการผลักดันและลงทุนกับตัวนักกีฬาในระยะยาว จึงอาจส่งผลกับการทุ่มเททรัพยากรในการช่วย promote นักสู้ เพราะระยะเวลาอันสั้นจะบีบให้ promoter ใช้ความฉาบฉวยในการทำการตลาดมากขึ้น นักสู้จะต้องทำการตลาดตัวเองให้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้นักสู้ที่ไม่มีความน่าสนใจในเชิงบุคลิกภาพหรือนักสู้ที่ขาด resource และทีมงานในการ promote ตัวเอง อาจได้โอกาสน้อยลง เพราะ "ตนต้องเป้นที่พึ่งแห่งตน" มากขึ้น

ข้อ 2 และ 3 อันนี้เห็นด้วยเพราะจะทำให้ไม่เกิดความเป็นกลาง หากผู้จัดการมาทำตัวเป็น promoter ซะเอง ก็จะผลักดันเด็กตัวเอง อีกทั้งการเปิดเผยรายได้ก็จะช่วยมีตัวช่วยเช็คให้เกิดการเจรจาที่เป็นธรรมในเชิงผลตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อกับเม็ดเงินที่ promoter ทำได้ และยังจะช่วยลดการหมกเม็ดเลี่ยงภาษีของทั้ง promoter และนักกีฬาได้ด้วย

ข้อ 4 อันนี้กึ่งเห็นด้วย กึ่งไม่เห็นด้วยอยู่ เพราะกีฬาอย่าง MMA และองค์กรอย่าง UFC คือธุรกิจบันเทิง sport entertainment ที่สนองตามความต้องการของคนดูแฟนมวย และอยู่ได้ด้วย sponsor หากมีการเอาระบบที่เป็นคนกลาง 3rd party มากๆที่จัดอันดับกันด้วยหลักสถิติที่เป็นวิทยาศาสตร์ล้วนๆ เราอาจจะไม่มีโอกาสเห็น fight ที่มีดราม่าน่าสนใจ อย่างเช่น McGregor vs Diaz 1 และ 2 หรือแนวโน้มที่จะเกิด fight พิเศษข้ามรุ่นอย่าง Jon Jones vs Brock Lesnar ที่ในมุมคนดูและ sponsor อาจอยากดูมากกว่า นั่นหมายความว่าคนดูจะไม่มีอำนาจในการเรียกร้อง และอำนาจการจัด fight จะอยู่ที่กลุ่มคนไม่กี่คนและระบบการคำนวนสถิติด้วย computer

ซึ่งนั่นหมายความว่าการสร้างดราม่าและความบันเทิงที่เป็นสีสันและตัวปัจจัยสำคัญในการสร้างให้กีฬาอย่าง MMA ได้รับความนิยมในสื่อกระแสหลักจนผลักดันให้เริ่มกลายมาเป็น mainstream sport ได้แบบทุกวันนี้ อาจจะไม่เกิดขึ้นได้เลย ซึ่งคนดูส่วนมากที่เป็นตัวดึงดูดเม็ดเงิน sponsor ก็อาจจะหายไป ส่งผลให้กระทบกับ promoter และตัวนักกีฬาได้

ซึ่งผมมองว่ารูปแบบการจัดอันดับแบบนี้เหมาะกับที่จะไปใช้กับวงการแข่งสมัครเล่นอย่างพวกกีฬาระดับชาติหรือแบบ League มากกว่า ที่เรื่องดราม่าและการตลาดเป็นเรื่องรอง แต่ระดับฝีมือที่ประเมินเป็นวิทยาศาสตร์ต้องมาก่อน ซึ่งหากมีงานแข่งหรือ promoter ที่เอา concept แบบนี้มาเป็นรูปแบบในการจัดการแข่งก็จะช่วยสร้างพื้นที่ให้แก่นักกีฬามีฝีมือแต่อาจไม่มี marketing power หรือเสน่ห์ที่จะบิ้วตัวเองในงานแข่งเชิงมหรสพบันเทิงอย่าง UFC หรือ ONE Championship ได้ แต่มองว่าหากเปลี่ยนให้ promotion ที่เน้นความบันเทิงที่เป็นตัวสร้างให้เกิดกลุ่มคนดูใหญ่ ไม่ให้จัดการการแข่งบน mindset ของความบันเทิงเพื่อสนองตลาดและคนดูได้ อุตสาหกรรม MMA อาจจะมีผลกระทบทางด้านลบได้

Comment