FITNESS & LIFESTYLE

มวย โรคซึมเศร้า และสุขภาพจิต

30.05.2019

คนส่วนใหญ่มักจะเคยได้ยินคำว่า "โรคซึมเศร้า" กันมาอย่างคุ้นหู เห็นคนดังหรือคนใกล้ตัวเป็นโรคนี้กันเยอะ บ้างก็ว่าเป็นตามกระแสบ้างก็เป็นโรคนี้แบบไม่รู้ตัว แต่มีคนส่วนน้อยที่จะเข้าใจและเรียนรู้การใช้ชีวิตประจำวันกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้อย่างถูกต้องการรักษาโรคซึมเศร้า นอกจากจะรักษาด้วยการใช้ยารักษาแล้ว การออกกำลังกายก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยบำบัดโรคนี้ได้แต่การออกกำลังกายและทำกิจกรรมต่างๆ นี้ ต้องอยู่ในขอบเขตของความพอดี ไม่หักโหมมากจนเกินไป ควรเป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกได้ปลดปล่อยอารมณ์และเพลิดเพลินกับสิ่งที่ทำอยู่ ไม่ใช่เป็นการกดดันตัวเองเพื่อเอาชนะหรือมีความคาดหวังว่าต้องทำให้สำเร็จ


จัสติน บีเบอร์ บำบัดซึมเศร้าด้วยการต่อยมวย
ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2019 สื่อบันเทิงต่างชาติหลายต่อหลายแห่งต่างให้รายงานว่า นักร้องหนุ่มคนดังระดับโลก จัสติน บีเบอร์ (Justin Bieber) ชายหนุ่มที่เคยเป็นความสดใสของแฟนคลับสาวๆ ทั่วทั้งโลกตอนนี้เขากำลังเผชิญหน้ากับโรคซึมเศร้าที่ต้องได้รับการบำบัดและดูแลอย่างใกล้ชิด จนจำเป็นต้องเข้ารับการปรึกษาและบำบัดอาการที่ว่านั้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เขาต้องมาเป็นโรคนี้ไม่ได้มาจากชีวิตการแต่งงานเพราะเขามีความสุขกับชีวิตคู่ แต่สาเหตุที่แท้จริงนั้นคือ อาการซึมเศร้าของเขามาจากการที่เขาต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสปอร์ตไลท์เพราะการเป็นคนดัง ชีวิตของเขาจึงมีแสงแฟลตจากกล้องที่บรรดาเหล่าแฟนคลับและนักข่าวต่างจดจ้องที่จะถ่ายรูปของเขาอยู่เสมอ


ใช้มวยบำบัดอาการซึมเศร้า
การต่อยมวย เป็นเหมือนการสร้างความรู้สึกว่า ทำสำเร็จเป็นการสร้างความมั่นใจและความภาคภูมิใจของตนเอง และยังเป็นการปลดปล่อยอารมณ์ทั้งหลาย เช่น ความหงุดหงิด ความโกรธ ความเศร้า การต่อยมวยคือทางเลือกหนึ่งที่นักร้องหนุ่ม จัสติน บีเบอร์ ใช้บำบัดรักษาอาการซึมเศร้าของตัวเองด้วยการต่อยมวย ซึ่งในสื่อโซเชียลมีเดีย เคยมีภาพที่เขาไปปรากฏตัวที่สนามมวย UFC และกำลังฝึกซ้อมต่อยมวยเพื่อบำบัดอาการซึมเศร้าโดยมีเฮลีย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิดนอกสนาม


การต่อยมวยดีอย่างไร
เคิร์ต แจ็กสัน (Kurt Jackson) รองศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาและวิทยาศาสตร์การฟื้นฟูแห่งมหาวิทยาลัยเดย์ตัน ได้กล่าวว่า "การต่อยมวยจะไม่เหมือนการออกกำลังกายประเภทอื่น เพราะว่าการต่อยมวยเน้นหนักไปที่การเคลื่อนไหวอันเปี่ยมด้วยพลังของกล้ามเนื้อ " งานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า การต่อยมวยช่วยเพิ่มความแข็งแรง พลังของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นและความคล่องแคล่วนอกจากนี้การต่อยมวยยังช่วยในเรื่องของการประสานงานของส่วนต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย และที่สำคัญการต่อยมวยยังสามารถช่วยในเรื่องสมาธิ ลดความเครียดและความวิตกกังวลได้ดีเมื่อคุณต้องเผชิญปัญหามาทั้งวันจนหงุดหงิด การได้ปล่อยหมัดใส่หน้าหรือใส่กระสอบทรายแรงๆ ก็เป็นการช่วยระบายอารมณ์และความเคลียดได้ดี เพราะอะดีนาลีนและฮอร์โมนต่างๆ ที่หลั่งออกมาระหว่างการใช้แรง จะส่งผลดีต่อร่างกาย รวมไปถึงร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดอฟีนที่ช่วยให้มีความสุขก็จะช่วยส่งผลให้เราคลายเครียดได้มากขึ้น

Southpaw สังเวียนเดือด ภาพยนตร์ที่นำเสนอแง่มุมของนักมวยและโรคซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี
Southpaw สังเวียนเดือด นักแสดงหนุ่มหล่ออย่าง Jake Gyllenhaal ได้สวมบทบาทเป็น บิลลี่ โฮป นักมวยที่มีสไตล์การชกแบบพุ่งชนอย่างเดียวนอกจากนั้นเขายังมีพฤติกรรมก้าวร้าว ซึ่งการที่แสดงออกนั้นอาจเป็นเพียงเกราะคุ้มครองตัวตนที่อ่อนแอของเขา เราจะเห็นบิลลี่แสดงอารมณ์กราดเกรี้ยวเป็นระยะๆ เมื่อมวยคือสิ่งเดียวที่เขาทำได้ดีที่สุด และมันก็นำมาซึ่งเงินทองและความสำเร็จ จนเมื่อสูญเสียภรรยาไป บิลลี่ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า แล้วยิ่งมาจิตตกรุนแรงเมื่อลูกสาวคนเดียวต้องอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐ เนื่องจากเขาไม่อยู่ในสภาพที่จะดูแลเองได้ บิลลี่เสียแชมป์ เสียภรรยาที่รัก ไม่มีเงิน ชีวิตตกต่้ำ เมื่อชีวิตนี้เหลือเพียงลูกสาวคนเดียว บิลลี่สร้างแรงผลักให้ตัวเองอีกหนด้วย "มวย" สิ่งที่เขาทำได้ดีที่สุดเพียงอย่างเดียวในชีวิตเป็นการกรุยทางสู่ชีวิตใหม่


ทำไมนักมวยหลายคนถึงประสบภาวะปัญหาซึมเศร้า
เมื่อช่วงหลายปีก่อน ริกกี้ แฮตตั้น อดีตแชมป์โลกรุ่นไลต์-เวลเตอร์เวต และเวลเตอร์เวต ชาวอังกฤษ เปิดใจว่าเขาพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว 2-3 ครั้ง เนื่องจากป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แฮตตั้นพูดถึงความจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือนักมวยที่แขวนนวมแล้วให้มากขึ้น เพราะหลังจากแขวนนวมแล้ว จะต้องเจอกับความยากลำบากในชีวิตส่วนตัว “ ผมเคยไปเที่ยวผับ เมื่อกลับมาบ้าน ก็หามีดได้ จากนั้นนั่งร้องไห้อยู่ในความมืดในห้อง คิดฆ่าตัวตายหลายตลบ แต่ก็พยายามอย่างหนัก ก่อนจะผ่านมาได้"

ในเดือนตุลาคม ปี 2018 George Gigney ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งคำตอบของเขาคือ "การต่อยมวย (Boxing) นั้นถือเป็นเรื่องดีประมาณ 80% แต่อีก 20% คือนักมวยเหล่านั้นได้ใช้ความพยายามอย่างหนักเพื่อที่พวกเขาจะมีสภาพที่พร้อมที่สุดในวันที่ต้องขึ้นสังเวียน"

"นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จมักจะมีช่วงเวลาที่ยากลำบากในชีวิตทั้งในด้านของการยอมรับทางอารมณ์และการขอความช่วยเหลือ เมื่อพวกเขาต้องพักฟื้นร่างกาย แต่สุดท้ายแล้วพวกเขาได้รับการเยียวยารักษาทางด้านร่างกายเมื่อเวลาเจ็บป่วย แต่กลับกันในด้านของจิตใจเรายังไม่เคยไปถึงจุดทีรักษานักกีฬาได้อย่างจริงจัง"

Comment